วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บุญบุญบุญ

บุญคืออะไร?




บุญ คือ
          สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำ ให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง ขุ่นมัว ก้าวขึ้นไปสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจ ได้เพื่อนคิดที่ดี คือ พระธรรม ทำให้เลือกเฉพาะสิ่ง ที่ดี ที่ถูก ทีควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตาม ที่คิดนั้น

บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
           ย่อมส่งผลปรุงแต่ง ใจของเราให้มีคุณภาพดีขึ้น คือ ตั้งมั่นไม่หวั่น ไหว บริสุทธิ์ผุดผ่องไสว โปร่งโล่งไม่อึดอัด อิ่มเอิบ ไม่กระสับกระส่าย ชุ่มชื่นเบาสบาย ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด และบุญที่เกิดขึ้นนี้ยังสามารถสะสม เก็บไว้ในใจได้อีกด้วย

คุณสมบัติของบุญ
1.   ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดได้
2.   นำความสุขความเจริญก้าวหน้าได้
3.   ติดตามตนไปทุกฝีก้าว แม้ไปเกิดข้ามภพข้ามชาติ
4.   เป็นของเฉพาะคน ใครทำใครได้ โจรลักขโมยไม่ได้
5.   เป็นที่มาของโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
6.   ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติ แก่เราได้
                                          ฯลฯ

หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เราต้องเร่งสร้างบุญใหม่ตั้งแต่บัดนี้ จะได้เป็นบุญเก่าติดตัวไปในวันหน้า โดยยึดหลักว่า
1.  เช้าใดยังไม่ได้ทำทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งทานข้าว
2.  วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน
3.  คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งเข้านอน















วิธีทำบุญ ใช้หลัก บุญกริยาวัถตุ 10
ประเภทของบุญในกาลก่อน     บุญในกาลก่อนแบ่งเป็น ชนิด ได้แก่

บุญช่วงไกล   คือ คุณความดีที่เราได้ทำจากภพชาติก่อน มาจนถึงวันคลอด
บุญช่วงใกล้   คือ คุณความดีที่เราทำในภพชาติปัจจุบัน ตั้งแต่คลอดจนถึงเมื่อวานนี้
บุญช่วงไกล การสั่งสมความดีมาแต่ ภพชาติก่อน ส่งผลให้เห็นในปัจจุบัน เปรียบเสมือนผลไม้ที่คัดพันธุ์มาดีแล้ว รสโอชะของมันย่อมติดมาในเมล็ด เมื่อนำเมล็ดนั้นมาปลูก ต้นของมันย่อมให้ผลที่รสอร่อยทันทีโดยไม่ต้อง ทะนุบำรุงมาก คนเราก็เช่นกัน ถ้าในอดีตชาติ สะสมความดีมามาก พอเกิดมาในภพชาตินี้ ก็เป็นคนใจใส ใจสะอาดบริสุทธิ์ มาตั้งแต่เกิด รูป ร่างสง่างาม ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีโอกาสให้ สร้างความดีได้มากกว่าคนทั้งหลาย ถ้าไม่ประมาท หมั่นสะสมความดีในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก ก็จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าประมาทไม่ เอาใจใส่ในการทำความดีในปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ยอดด้วน ยากที่จะเจริญเติบโต ต่อไปได้
บุญช่วงใกล้ คนที่ทำความดีตั้งแต่เล็ก ๆ เรื่อยมา เช่น ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร คบคนดีเป็นมิตร ฝึกใจให้ผ่องใสมาตั้งแต่เด็ก ความคิด คำพูด การทำงาน ย่อมดีกว่าบุคคลอื่นในวัยเดียวกัน เมื่อเติบโตขึ้น ย่อมมีความเจริญก้าวหน้า มากกว่าผู้อื่น

     
    เพราะฉะนั้นเราจึงควรสะสมบุญ โดยทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้ จะได้ส่งผลให้สติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าวหน้า ในชีวิตต่อไปในอนาคต ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ ทรงทำความดี สร้างสมบารมีมามากนับภพ นับชาติ ไม่ถ้วน ในภพชาติสุดท้าย ก็ทรงฝึกเจริญ สมาธิภาวนา ศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่ยังเยาว์  จึงสามารถ ตรัสรู้ธรรม เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เมื่อพระชนม์เพียง 35 พรรษา

ผลของบุญ บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลกับตัว เรา ระดับ คือ
1.     ระดับจิตใจ เป็นบุญที่เกิดผลทันที คือ ทำความดีปุ๊บก็เกิดปั๊บ ไม่ต้องรอชาติหน้า เกิดขึ้นเองในใจของเราทำให้
        oสุขภาพทางใจดีขึ้น คือ มีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อคำยกยอ หรือตำหนิติเตียน
        oสมรรถภาพของใจดีขึ้น คือ เป็นใจที่สะอาด ผ่องใส ใช้คิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้ง กว้างไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ และตัดสินใจได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล
2.     ระดับบุคลิกภาพ คนที่ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีใจทีสงบ แช่มชื่น เบิกบาน นอนหลับสบาย ไม่มีความกังวลหม่นหมอง หน้าตาผิวพรรณจึงผ่องใส ใจเปี่ยมไปด้วยบุญ ไม่คิดโลภอยากได้ของใคร ไม่คิดสร้างความเดือดร้อนให้ใคร มีแต่คิดช่วยเหลือเขา จึงมีความมั่นใจในตัวเอง มีความองอาจสง่างามอยู่ในตัว ไปถึงไหนก็สามารถวางตัวได้พอเหมาะพอดี บุคลิกภาพย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ
3.     ระดับวิถีชีวิต วิถีชีวิตของเรา เกิดจากการสรุปผลบุญและผลบาป ที่เราได้ทำแต่ภพชาติก่อน ๆ จนถึงภพชาติปัจจุบัน เป็นผลของบุญระดับจิตใจ และระดับบุคลิกภาพ เช่น ได้รับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข การที่เราทำดีแล้ววิถีชีวิตของเราจะดีเต็มที่หรือไม่นั้น ขึ้นกับบุญเก่า หรือบาปในอดีต ที่เราเคยทำไว้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ทำให้บางคนเข้าใจผิด คิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่ กลับถูกใส่ร้ายป้ายสี หรือประสบเคราะห์กรรม ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี แท้จริงแล้วที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้น ผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่  แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญไปโดยไม่ย่อท้อ บุญย่อมส่งผลให้ในเวลาที่สมควรต่อไป4.     ระดับสังคม เมื่อเราทำความดีมาแล้วอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะไปอยู่สังคมใด    บุญก็จะส่งผลให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือได้เป็นผู้นำของสังคมนั้น และจะเป็น ผู้ชักนำสมาชิกในสังคมให้ทำความดีตามอย่าง ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น ความเจริญก้าวหน้าขึ้นในสังคมนั้น ๆ โดยลำดับ ตัวอย่างผลของบุญ
ผู้ที่มีอายุยืน                   
     เพราะในอดีตไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ     
     เพราะในอดีตไม่รังแกหรือทรมานสัตว์
ผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์    
     เพราะในอดีตให้ทานด้วยข้าวปลาอาหารมามาก
ผู้ที่มีผิวพรรณงาม          
     เพราะในอดีตรักษาศีลและให้ทานด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมามาก
ผู้ที่มีอำนาจมีคนเกรงใจ   
     เพราะในอดีตมีมุทิตาจิต ใครทำความดี ก็อนุโมทนา  ไม่อิจฉาริษยาใคร
ผู้ที่ร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก 
     เพราะในอดีตให้ทานมามาก
ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง       
     เพราะในอดีตบูชาบุคคลที่ควรบูชามามาก
ผู้ที่ฉลาดมีสติปัญญาดี      
     เพราะในอดีตคบบัณฑิต ฝึกสมาธิ เจริญภาวนามามาก และไม่ดื่มสุรายาเมา

  
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งอำนาจคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงค์

   ขอบุญที่เกิดจากการเขียนนี้ เกิดบุญขึ้นเมื่อใด ขอดวงจิตทุกดวงอันเป็นนายเวรของผู้เข้ามาอ่าน จงรับบุญจากนี้ไป
   ขอบุญนี้ยังความเจริญมายังท่านตามที่ท่านปราถนาจากกองบุญอันนี้
   ขอท่านจงมีปัญญา จงเจริญ จงมีความอิ่มอุดมพ้นทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งบุญ
   ขอบุญนี้จงเป็นแทนเครื่องขอขมายังนายเวร ขอนายเวรจงรับ และโปรดอโหสิกรรมให้ยังทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านรับรู้เรื่องบุญ
   เมื่อท่านอโหสิกรรให้แล้วโปรดอนุโมทนาบุญต่างๆเหล่านี้ด้วยเทอญ และโปรดเป็นมิตรกับทุกท่านที่ได้รับรู้เรื่องแห่งบุญนี้
จำไว้นะความสุขมันอยู่ที่ใจ


อ้างอิงจาก
 https://th.wikipedia.org/wiki
 http://www.oknation.net/
http://anaes1.md.kku.ac.th/
www.bokboontody.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไก่เเจ้สวยงาม

วิธีการเลี้ยงไก่เเจ้สวยงาม
   การเลี้ยงไก่แจ้

1.         เหตุผลความเหมาะสม
                ไก่แจ้เป็นสัตว์ปีกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย เด็กผู้หญิงหรือคนชราก็เลี้ยงได้ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้
2. เงื่อนไขความสำเร็จ
                2.1 ผู้เลี้ยงต้องมีความรักและสนใจในการเลี้ยงไก่แจ้
                2.2 ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะพันธุ์ไก่แจ้ตามอดดมทัศนีย์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
                2.3 ต้องมีตลาดรองรับที่ชัดเจน และต้องอยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายแลกเปลี่ยนพันธุ์ไก่
3. เทคโนโลยี และกระบวนการผลิต


                3.1 พันธุ์ไก่แจ้

                ไก่แจ้ที่นิยมเลี้ยงมีทั้งไก่แจ้สากลและไก่แจ้ไทย สีที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ สีขาว สีดำ สีทอง สีกระดำ สีเทา สีขาวหางดำ สีประดู่ สีบาร์ สีโกโก้ และสีลายดอกหมาก รูปพรรณไก่แจ้ที่ดีทั่วไป ควรมีลักษณะเหมือนหยดน้ำ หน้าดี สีสวย กระรวยดั้ง หางดอก อกกลมสมส่วน เกษตรกรสามารถหาซื้อได้จากฟาร์มเลี้ยงไก่แจ้ทั่วไป โดยต้องล็อกจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ มีพันธุ์ประวัติที่ชัดเจน


1.1          โรงเรียนและอุปกรณ์

โรงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยให้กับไก่ ต้องสามารถกันแดดกันฝน กันลม และให้ความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ ลักษณะโรงเรือนมีหลายรูปแบบ เช่น เป็นโรงเรือนที่ให้คนเดินเข้า – ออกได้ หรือทำเป็นกรงลอย ยกพื้นเตี้ย สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรืออาจทำเป็นแบบกรงซ้อนกันหลายชั้น การเลี้ยงไก่แจ้ 1 ชุด (ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว) ควรใช้เนื้อที่อย่างน้อยปริมาณ 1 ตารางเมตร ส่วนหลังคา แล้วแต่ความเหมาะสมจะเป็นเพิงหรือจั่วก็ได้ ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายในกรงทำคอนสำหรับนอน มีรังไข่ ที่ใส่อาหาร และที่ใส่น้ำรองพื้นกรงด้วยทราย สถานที่ตั้งกรงไก่แจ้ ควรตั้งในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี แดดส่องถึงบ้างพอสมควร ควรมีร่มเงาของไม้ใหญ่ สิ่งสำคัญอย่าให้มีลมโกรกโดนตัวไก่โดยตรง และควรมีมู่ลี่กันละอองฝนในฤดูฝน
1.2          อาหารและการให้อาหาร
ควรใช้อาหารไก่ไข่ที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด โดยจำหน่ายตามขนาดไก่แจ้ คือ ไก่ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 1 เดือนใช้อาหารไก่เล็ก ไก่อายุ 1 – 3 เดือน ใช้อาหารไก่รุ่น ไก่อายุตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไปใช้อาหารไก่ใหญ่ และแบ่งให้อาหารเป็น 2 มื้อ คือ เช้า-บ่าย สำหรับลูกไก่ควรให้กินตลอด 24 ชั่วโมง ควรมีน้ำสะอาดให้ไก่แจ้กินตลอดเวลา
1.3          การจัดการเลี้ยงดูไก่แจ้ระยะต่าง ๆ
การดูแลลูกไก่ ที่ซื้อมาในระยะแรก นำลูกไก่แจ้มาเลี้ยงในกล่องกระดาษ หรือจะเลี้ยงบนกรงอนุบาลลูกไก่ และกกด้วยหลอดไฟขนาด 20 – 25 แรงเทียนเพื่อให้ความอบอุ่น ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองพื้นกั้นกล่องให้น้ำและอาหารกินตลอดวัน น้ำควรผสมยาปฏิชีวนะป้องกันการติดชื้อไวรัสหรือให้วิตามินเสริมและควรเปลี่ยนน้ำทุกเช้า – เย็น เมื่อพื้นสกปรกให้เปลี่ยนกระดาษพื้นกล่องทันที เมื่อลูกไก่โตขึ้นก็เปลี่ยนขนาดกล่องให้ใหญ่ขึ้นเลี้ยงลูกไก่ไนกล่องจนอายุประมาณ 3 เดือน แล้วนำไปเลี้ยงในกรงที่เตรียมไว้ส่วนการดูแลไก่รุ่นและพ่อแม่พันธุ์ ไก่ระยนี้การเลี้ยงไม่ค่อยยุ่งยากนักให้อาหารและน้ำกินตลอดวัน อาหารที่ให้ จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดโดยจะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และมีน้ำสะอาดให้กินตลอดวัน แม่ไก่ 1 ตัว จะให้ลูกปีละ 15 – 20 ตัว


1.4          การป้องกันโรค

ควรทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบ โรคฝีดาษ และอหิวาต์ ตามโปรแกรมกำหนดและมีการกำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เหา หมัด ไร โดยวิธีการฉีดบริเวณพื้นบริเวณคอก หรือ ละลายยาแล้วจับตัวไก่จุ่มในน้ำยาเพื่อเป็นการป้องกันควรป้องกันกำจัดพยาธิภายในอาทิ พยาธิไส้เดือน ดำเนินการโดยทำความสะอาดคอก กวาดอุจจาระออกบ่อย ๆ อย่าให้คอดชื้นและมีการถ่วยพยาธิเป็นประจำ
2.         ต้นทุน และผลตอบแทน
                สำหรับการเลี้ยงไก่แจ้ 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 4 ตัว
2.1          ต้นทุน
ได้แก่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ ค่าพันธุ์ ค่าอุปกรณ์ในการเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ รวมประมาณ 5,000 – 6,000 บาท
4.2 ผลตอบแทน
ในปีแรกจะได้จากการจำหน่ายผลผลิตลูกไก่ ที่ได้จากการเลี้ยง 1 ชุด ได้ลูกไก่จำนวน 70 – 80 ตัว จำหน่ายในราคาตัวละ 100 บาท จะได้ผลตอบแทนประมษร 7,000 – 8,000 บาท และในปีต่อ ๆไป จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องลงทุนค่าพ่อพันธุ์ –แม่พันธุ์อีก
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะการตลาดและแหล่งเลี้ยง รวมทั้งขนาดการผลิต ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล และรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลี้ยง

 การขยายพันธุ์

มือใหม่ที่คิดจะผสมพันธุ์ไก่แจ้แบบหวังผล แต่ลงทุนน้อย มือใหม่ไม่ควรผสมพันธุ์ไก่แจ้เกินสามสี ถามตัวเองก่อนว่าชอบไก่แจ้สีอะไร ถ้าได้คำตอบแล้วก็ค้นหาตามฟาร์มต่างๆ หรือในเว็บก็ได้ ต้องมีสองอย่าง 1 สายพันธุ์ดี 2 สายเลือดหรือสีนิ้ง ไก่แจ้สายพันธุ์ดีได้มาตาฐานสากลประกวดได้ตัวละเป็นหมื่น แต่ไก่แจ้สายพันธุ์ดีที่ไม่ได้มาตาฐานปะกวดไม่ได้ ตัวละร้อยถึงพันบาทเท่านั้น ขอแบ่งซื้อไก่แจ้สายพันธุ์ดีสีนิ้งแต่ไม่ได้มาตาฐาน เช่นขายาว รูปไม่หล่อ ประกวดไม่ได้ เอามาศึกษาเรียนรู้และผสมพันธุ์ได้ลูกไก่แจ้ 6-7 ตัว ต้องมีดีโผล่มาซัก 1-2 ตัว หรือมากกว่านั้น เพราะว่าไก่แจ้สายเลือดดีออกลูกมาไม่ใช่ลูกจะดีทุกตัว อย่างดีก็ 60% ไม่ดี 40% เราเอาไก่แจ้สายพันธุ์ดีแต่ไม่ได้มาตาฐานมาผสมพันธุ์อาจจะได้ไก่แจ้ดี 30% ไม่ดี 70% ก็ได้ผลแล้วเพราะว่าลงทุนน้อยถือว่าได้ศึกษาเรียนรู้การผสมพันธุ์ไก่แจ้ บางคนไม่รู้เคล็ดลับการผสมพันธุ์ไก่แจ้ บางคนเพาะเลี้ยงผสมพันธุ์มาตั้ง 5-6 ปี ยังไม่ได้ดีก็มี จนเลิกเลี้ยงไปแล้วกลับมาเลี้ยงใหม่ก็ยังเหมือนเดิม ถ้ารู้วิธีการต่อยอดก็จะเร็ว

ลักษณะเด่น 7 ประการ


สนใจสมัครเข้าชมรมได้




แหล่งอ้างอิง

http://www.nagasoap.com/wantdoit/career52.htm
http://www.mybantams.com
www.MyBantams.com
http://www.kmonic.com

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฏหมายเเละจริยธรรม                 กลุ่มเรียนที่ 4
 รหัสวิชา  0026008
 นายกิตติ สกุลจันทร์เรือง รหัส53010514003

1. นายAทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้  โดยทำการระบุ IP – Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย  นาย B  ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย  A  ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื้อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้ส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักได้ทดลอง”    การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


คำตอบ  ผิดจริยธรรมเพราะนายA  ทำการทดลองที่ผิดกฎหมาย ซ้ำยังสะเพร่าในการเก็บรักษาข้อมูล เป็นเห็ตให้ นายB สามารถนำข้อมูลดังกล่าว ไปสร้างความก่อกวน และส่งผลเสียแก่ผู้อื่น  เป็นการไม่รับผิดชอบต่อสังคม ไร้ซึ่งความละอายใจ 


2.  นาย J ได้สร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆอีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุก ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆเด็กชายK เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J ” การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรืผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


คำตอบ  จะตัดสินว่าผิดหรือไม่ ต้องดูที่เจตนาของผู้ที่สร้างเพจ หากตั้งใจกระทำเพื่อความสนุกสนาน ก็ควรที่จะระบุให้ชัดเจน หากไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ที่ชัด อาจจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างไม่ได้เจตตนา และเป็นการผิดจริยะธรรมได้ เพราะโลกออนไลท์นั้น ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว ผู้บริโภคจึงควรที่จะมีความรอบคอบให้มากๆ  

แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                 กลุ่มเรียนที่ 4
 รหัสวิชา  0026008
 นายกิตติ สกุลจันทร์เรือง รหัส53010514003

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Fire-well) คือ

 ตอบ  เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่

นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ

 Firewall นั้นจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ


2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware
มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่
กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น 
Outlook Express หรือ Microsoft Outlook


3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses


4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ  1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency diskหรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถจะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูตได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำให้บูตเครื่องได้ตามปกติ         

 2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง     3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้างโพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้
  4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้วนำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสในแผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว         

  5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมากมายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่านั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็นทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้



5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันได้แก่

ตอบ 1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล     

        2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์            

        3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์        

        4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์          

        5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์       

        6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์                    

        7. กฏหมายโทลคมนาคม        

        8. กฏหมายระหว่างประเทศ        

        9. กฏหมายเกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต                                       

       10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 6

แบบฝึกหัด

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน                 กลุ่มเรียนที่ 4
 รหัสวิชา  0026008
 นายกิตติ สกุลจันทร์เรือง รหัส53010514003

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว    

 1การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?        

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศ          

  2. เทศโนโลยี          

  3. สารสนเทศ          

  4. พัฒนาการ

 ตอบ   4.พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?

   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ         

   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล        

   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน                  

   4. การพยากรณ์อากาศ

 ตอบ  2.ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?

   1. ระบบอัตโนมัติ         

   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย        

   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ        

   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ตอบ   1.ระบบอัตโนมัติ

4ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?       

  1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์             2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต         3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย          4. ถูกทุกข้อ

     ตอบ  4.ถูกทุกข้อ
      
    5เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?

    1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

    2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 

    3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ             

   4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

ตอบ   1.การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

6เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?         

 1. เทคโนโลยีการสื่อสาร          2. สารสนเทศ          3. คอมพิวเตอร์          4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4.ถูกทุกข้อ

    7ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?

    1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

    2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้

    3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว       

    4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

ตอบ  4.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?         

 1. เครื่องถ่ายเอกสาร          

 2. เครื่องโทรสาร          

 3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์          

 4. โทรทัศน์ วิทยุ

ตอบ   1.เครื่องถ่ายเอกสาร

9ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?         

1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ     

2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร        

3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์          

4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

       ตอบ 3.ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

     10ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?

      1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้           

      2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้         

      3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่

           4. ถูกทุกข้อ

     ตอบ  4.ถูกทุกข้อ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัด

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                 กลุ่มเรียนที่ 4
 รหัสวิชา  0026008
 นายกิตติ สกุลจันทร์เรือง รหัส53010514003

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้


1.       จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

 – การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การจัดกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง(organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ  การดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่ง กำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ


2.       การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร


  – การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการการจัดเก็บสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตัว ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา


3.       พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง


         -  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ


  • การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
  • การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4.       จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง


               1.การสื่อสารทางไกล ด้วยระบบ Interner
               2. การค้นหาข้อมูล ซึ่งมีความรวดเร็ว
               3. การติดตามข่าวสาร 


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสเมอร์สตัวร้าย

โรคเมอร์ส (MERS) Middle East Respiratory syndrome


>>ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสเมอร์สที่ต้องรู้จักก่อนเป็นเหยื่อ<<






          ไวรัสเมอร์ส  ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด          แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

เชื้อไวรัสเมอร์ส

     โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบใหม่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชนิด corona virus ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม single-stranded RNA virus ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว เป็นต้น 
       ต่อมาไวรัสสายพันธ์นี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคนได้ โดยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกในประเทศ ซาอุอาราเบีย ในปี ค.ศ.2012 ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก ในที่สุดอาจเสียชีวิต อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันตั้งแต่รุนแรงมากจนถึงรุนแรงน้อย และมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไม่แสดงอาการเลย 
      
     ความร้ายแรงของไวรัสเมอร์สคอฟ
            ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สคอฟ
           หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย


แม้ว่าไวรัสเมอร์สคอฟสายพันธุ์ใหม่จะยังไม่มาถึงประเทศไทย แต่ควรรู้และป้องกันไว้ก่อนเพราะเป็นเชื้อใหม่ล่าสุดที่ยังไม่มียารักษา 
          สำนักข่าวไทย 18 มิ.ย. -กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส รายแรกในไทย เป็นชาวตะวันออกกลางในวันนี้ (18 มิ.ย.) มาทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อจะได้ป้องกัน หลังพบเสียชีวิตแล้วกว่า 500 คนทั่วโลก ผู้ป่วยกว่า 1,300 ราย ส่วนเกาหลีใต้ยังหยุดเชื้อไวรัสเมอร์สไม่อยู่ วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 3 คน ขณะที่ผู้ติดเชื้อยังพุ่งไม่หยุด ทำให้เกาหลีใต้ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อเมอร์ส มากที่สุดถ้าไม่นับภูมิภาค
ตะวันออกกลางต้นตอของการแพร่ระบาด

                                                            
                                                        การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์สคอฟ


1.     กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2.    ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3.    หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4.    สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5.    หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
6.    มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์











     หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย  สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

         จากมูลข้างต้นจะเห็นว่า ไวรัสเมอร์สถือเป็นไวรัสที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน่ากังวลพอสม­­­­ควร ดังนั้นช่วงเวลานี้เราจึงต้องดูแลสุขอนามัยของตัวเองเป็นอย่างดี­­­­ อย่างน้อยก็น่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากไวรัสเมอร์สได้บ้าง



ข้อมูลจาก:


         http://www.bpl.co.th/pweb/index.php/academic-professional/academic-articles/132middle- east-respiratory-syndrome.html
          http://www.tnamcot.com/content/212236
         http://health.kapook.com/view120467.html
         http://www.momypedia.com/article-6-35-617/ระวังไวรัสเมอร์ส-mers-cov-ระบาด-เชื้อโรคไม่มียารักษา/
         http://health.haijai.com/1392/