วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสเมอร์สตัวร้าย

โรคเมอร์ส (MERS) Middle East Respiratory syndrome


>>ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสเมอร์สที่ต้องรู้จักก่อนเป็นเหยื่อ<<






          ไวรัสเมอร์ส  ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด          แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

เชื้อไวรัสเมอร์ส

     โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบใหม่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชนิด corona virus ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม single-stranded RNA virus ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว เป็นต้น 
       ต่อมาไวรัสสายพันธ์นี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคนได้ โดยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกในประเทศ ซาอุอาราเบีย ในปี ค.ศ.2012 ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก ในที่สุดอาจเสียชีวิต อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันตั้งแต่รุนแรงมากจนถึงรุนแรงน้อย และมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไม่แสดงอาการเลย 
      
     ความร้ายแรงของไวรัสเมอร์สคอฟ
            ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สคอฟ
           หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย


แม้ว่าไวรัสเมอร์สคอฟสายพันธุ์ใหม่จะยังไม่มาถึงประเทศไทย แต่ควรรู้และป้องกันไว้ก่อนเพราะเป็นเชื้อใหม่ล่าสุดที่ยังไม่มียารักษา 
          สำนักข่าวไทย 18 มิ.ย. -กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส รายแรกในไทย เป็นชาวตะวันออกกลางในวันนี้ (18 มิ.ย.) มาทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อจะได้ป้องกัน หลังพบเสียชีวิตแล้วกว่า 500 คนทั่วโลก ผู้ป่วยกว่า 1,300 ราย ส่วนเกาหลีใต้ยังหยุดเชื้อไวรัสเมอร์สไม่อยู่ วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 3 คน ขณะที่ผู้ติดเชื้อยังพุ่งไม่หยุด ทำให้เกาหลีใต้ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อเมอร์ส มากที่สุดถ้าไม่นับภูมิภาค
ตะวันออกกลางต้นตอของการแพร่ระบาด

                                                            
                                                        การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์สคอฟ


1.     กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2.    ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3.    หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4.    สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5.    หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
6.    มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์











     หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย  สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

         จากมูลข้างต้นจะเห็นว่า ไวรัสเมอร์สถือเป็นไวรัสที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน่ากังวลพอสม­­­­ควร ดังนั้นช่วงเวลานี้เราจึงต้องดูแลสุขอนามัยของตัวเองเป็นอย่างดี­­­­ อย่างน้อยก็น่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากไวรัสเมอร์สได้บ้าง



ข้อมูลจาก:


         http://www.bpl.co.th/pweb/index.php/academic-professional/academic-articles/132middle- east-respiratory-syndrome.html
          http://www.tnamcot.com/content/212236
         http://health.kapook.com/view120467.html
         http://www.momypedia.com/article-6-35-617/ระวังไวรัสเมอร์ส-mers-cov-ระบาด-เชื้อโรคไม่มียารักษา/
         http://health.haijai.com/1392/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น